วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน




สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐาน และการพัฒนาผู้นำ (E5)
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่

วันพฤหัสบดีที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

สพฐ. เผยข้อเท็จจริงกรณีการอบรมหลักสูตรพัฒนาครู





สพฐ. เผยข้อเท็จจริงกรณีการอบรมหลักสูตรพัฒนาครู

ตามที่กระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดให้ครูเลือกเข้ารับการอบรมในหลักสูตรที่ได้รับการรับรองจากสถาบันคุรุพัฒนา โดยมีการจัดงบประมาณในการอบรม หรือ คูปอง ให้กับครู คนละ 10,000 บาทต่อปี จากนั้นได้เกิดกระแสข่าวพูดถึงประเด็นการยกเลิกหลักสูตรที่ครูได้ลงทะเบียนไปแล้ว และมีครูขอถอนตัวเป็นจำนวนมาก เพราะต้องเดินทางไปอบรมไกลแบบข้ามภูมิภาค และไม่มั่นใจว่าหลักสูตรจะถูกยกเลิกหรือไม่ เพราะไม่มีหลักประกันให้  รวมทั้งบางหน่วยที่จัดอบรมมีการทอนเงินค่าอบรมจำนวนหนึ่งจากค่าคอร์สเต็มที่ได้รับ 10,000 บาท โดยเขียนรายละเอียดในโครงการอบรม 4 วัน แต่อบรมจริงเพียง 2 วัน 
นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ออกมาชี้แจงในประเด็นดังกล่าวว่า  ด้วยสถิติข้อมูลครูที่เข้าโครงการพัฒนารูปแบบครบวงจร จะพบว่ายอดรวมยกเลิกทั้งหมดมีจำนวนกว่าสองแสนราย สามารถแยกตามพฤติกรรมได้ โดยจะเห็นว่ายอดยกเลิกหลัง 15 วันก่อนการอบรมมีเพียงแค่ 2.3% ซึ่งเป็นจำนวนที่น้อยมาก ดังนั้นการบอกว่าครูแห่กันยกเลิกจึงสามารถอธิบายได้ว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งในส่วนของการยกเลิกเพราะไม่ผ่านการอนุมัติ ก็มีเพียง 3.76% เท่านั้น ขณะที่การยกเลิกส่วนใหญ่ 86.9% หรือ 87% นั้น เกิดขึ้นก่อน 15 วัน โดยมาจากการยกเลิกการสำรองที่นั่ง หรือ waiting list หลังที่นั่งในหลักสูตรเต็มไปแล้ว และยกเลิกระหว่างการรออนุมัติ ในกรณีที่ครูเปลี่ยนใจไปเลือกหลักสูตรอื่น ซึ่งในภาพรวมจากจำนวนครูทั่วประเทศ 378,205 คน ครูที่ได้ลงทะเบียนกับโครงการผ่านระบบสำเร็จ มีจำนวน 305,894 คน คิดเป็น 80.88% หรือ 81% ของครูทั้งหมด
สำหรับประเด็นที่บางหน่วยมีการทอนเงินค่าอบรมบางส่วน และอบรมไม่ครบตามที่เขียนในโครงการ ทาง สพฐ. ได้ลงไปตรวจสอบและพบว่ากระแสข่าวเป็นความจริง โดย สพฐ. ได้รับแจ้งจากหน่วยอบรมในพื้นที่ ซึ่งช่วยกันรักษาสิทธิ์และ ปกป้องครูอย่างเข้มแข็ง ไม่ให้มีการเอาเปรียบครูได้ ทั้งนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการตั้งทีมกฏหมายเพื่อสืบสวนข้อเท็จจริง และยังได้ส่งเรื่องนี้ไปให้ทางสถาบันคุรุพัฒนาสืบสวนตามอำนาจการถอดถอนออกจาก List Courses ที่ได้รับการรับรองอีกด้วย ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ในระหว่างการดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับภาพรวมของโครงการ และผู้จัดคนอื่นที่จัดหลักสูตรอย่างมีคุณภาพ รวมทั้งครูทั่วประเทศที่ตั้งใจพัฒนาตนเองเพื่อพัฒนาผู้เรียนต่อไปด้วย   

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

โครงการมหกรรมพาลูกเที่ยวดะ “(Family Trip Expo’2017)”

โครงการมหกรรมพาลูกเที่ยวดะ “(Family Trip Expo’2017)”
วันที่ 16-18 มิถุนายน 2560 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ สยามพารากอน

"สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.familytripexpo.com และ www.facebook.com/palukteawda"

ข่าวการศึกษา วันที่ 26 พฤษภาคม 2560


ดาวน์โหลด ข่าวการศึกษา(สพฐ.)วันที่26พ.ค.60 

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

องคมนตรีพร้อมผู้ว่า ฯ ตรวจเยี่ยมการฟื้นฟู ร.ร.จากอุทกภัย พบปะนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน จ.นครศรีธรรมราช



         เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม 2560 พลเอกไพบูลย์ คุ้มฉายา องคมนตรี พร้อมด้วย นายจำเริญ ทิพญพงศ์ธาดา ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช นายประหยัด อนุศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1 ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช และคณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจเยี่ยมการฟื้นฟูโรงเรียนและพื้นที่จากปัญหาอุทกภัย พร้อมพบนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน    ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามที่ได้เกิดภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม  2559 – 12 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา        มีพื้นที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัยรวม 12 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ตรัง สุราษฎร์ธานี พัทลุง และกระบี่ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงห่วงใยพสกนิกรชาวไทยที่ได้รับผลกระทบ    จากภัยพิบัติอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ด้วยการพระราชทานเงินช่วยเหลือโรงเรียนและครอบครัวผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในครั้งนี้ จำนวน 40,000,000 บาท (สี่สิบล้านบาท) เพื่อช่วยเหลือสถานศึกษา และครอบครัวผู้เสียชีวิต ที่ได้รับผลกระทบทั้ง 12 จังหวัด แบ่งเป็นทุนการศึกษา จำนวน 15,000,000 บาท (สิบห้าล้านบาท) ให้แก่บุตรของครอบครัวผู้เสียชีวิตจากอุทกภัยในพื้นที่ 6 จังหวัด 27 ครอบครัว และพระราชทานครุภัณฑ์โต๊ะ - เก้าอี้ นักเรียน และครู จำนวน 25,000,000 บาท (ยี่สิบห้าล้านบาท) ให้แก่โรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย ในพื้นที่ 10 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดสุราษฎร์ธานี สงขลา นครศรีธรรมราช ชุมพร ตรัง พัทลุง กระบี่ นราธิวาส ปัตตานี ประจวบคีรีขันธ์ รวมจำนวนโรงเรียนที่ได้รับการพระราชทานความช่วยเหลือ 267 โรงเรียน          
         จังหวัดนครศรีธรรมราชถือเป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติอุทกภัย โดยมีผลกระทบต่อพื้นที่รวม 23 อำเภอ 166 ตำบล/เทศบาล 1,461 หมู่บ้าน 160 โรงเรียน ราษฎร์ได้รับผลกระทบ 301,557 คน 108,695 ครัวเรือน ยอดผู้เสียชีวิต 8 ราย อีกทั้งถนนสาธารณะได้รับผลกระทบเสียหาย จำนวน 1,678 สาย     คอสะพาน 65 แห่ง ฝาย 19 แห่ง ท่อระบายน้ำ 12 แห่ง วัด 2 แห่ง บ้านเรือน 890 หลัง พื้นที่นาข้าวที่ประสบภัย 159,363 ไร่ เสียหาย 100,967 ไร่ อีกทั้งพื้นที่พืชไร่ที่ประสบภัย 15,889 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 12,151 ไร่ และพืชส่วนอื่น ๆ ที่ประสบภัย 1,101,359 ไร่ เสียหายกว่า 309,687 ไร่ ส่งผลให้ประชาชนต่างได้รับความเดือนร้อนอย่างหนัก                                                                                      
      ทั้งนี้ในด้านความช่วยเหลือได้มีหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนทุกภาคส่วน เข้ามาสนับสนุนการปฏิบัติงานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนแก่ผู้ประสบภัยอย่างร่วมมือร่วมใจกันส่งผลให้ชาวนครศรีธรรมราชสามารถฝ่าวิกฤติภัยพิบัติครั้งล่าสุดนี้มาได้ โดยสำหรับการลงพื้นที่ขององคมนตรี พร้อมด้วย คณะผู้บริหารกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อตรวจเยี่ยมการฟื้นฟูโรงเรียนและพื้นที่จากปัญหาอุทกภัยและพบนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน ณ จังหวัดนครศรีธรรมราช ในครั้งนี้ ถือเป็นการสร้างขวัญกำลังใจที่ดีให้แก่ คณะครู นักเรียน และผู้ที่ได้รับกระทบจากภัยพิบัติอุทกภัย ณ ครอบครัวโต๊ะหว่าง โรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช โรงเรียนราชประชานุเคราห์ 19 และโรงเรียนวัดจันดี พร้อมกันนี้ องคมนตรีได้พบนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทานซึ่งบิดาหรือมารดาได้เสียชีวิตจากอุทกภัยทั้ง 12 ราย ได้แก่ 1.) นายคมสัน อนรรฆจีระพงษ์ อายุ 18 ปี 2.) เด็กหญิงเกศรา ขุนบุญจันทร์ อายุ 14 ปี 3.) นายฤชกรณ์ คงมีชัย อายุ 17 ปี 4.) นางสาวอมรรัตน์ อ่อนเกตุพลอายุ 19 ปี 5.) นางสาวยุวธิดา ชูแก้วอายุ 20 ปี 6.) นายนัทธพงศ์ อุ่นอำไพ อายุ 17 ปี 7.) เด็กหญิงอลิสา โต๊ะหวาง อายุ 2 ปี 8.) เด็กชายวงศ์กร โต๊ะหวาง อายุ 6 ปี 9.) เด็กหญิงกัญญารัตน์ โต๊ะหวาง อายุ 7 ปี 10.) นางสาวสุมลฑา โต๊ะหวาง อายุ 16 ปี 11.) เด็กชายธนวัต หอมหวล อายุ 1 ปี 12.) เด็กหญิงปัทมา หอมหวล อายุ 5 ปี ที่จะได้รับพระราชทานทุนการศึกษาเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษา ค่าครองชีพ ค่าหอพัก และค่าอุปกรณ์การศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษาที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิตด้านการดูแลและช่วยเหลือนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทานมีหลักเกณฑ์คือให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรี
      ขณะที่นายประหยัด  อนุศิลป์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 1 ปฏิบัติหน้าที่ศึกษาธิการจังหวัดนครศรีธรรมราช กล่าวว่า ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติมากที่สุด มีนักเรียนนักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษาพระราชทาน โดยจะมีคณะกรรมการจังหวัดดูรายการใช้จ่ายเงินพร้อมแจ้งปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน และรายงานผลการเรียนของนักเรียนหรือนักศึกษาให้แก่คณะกรรมการจังหวัดทราบทุกภาคเรียน พร้อมระบบการดูแลเกี่ยวกับการเรียนความเป็นอยู่ มีครูรับผิดชอบช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะแนว และประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมให้ความช่วยเหลือนักเรียน นักศึกษาอย่างต่อเนื่อง ต่อไป









วันอังคารที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ศธ.ปล่อยคาราวานโต๊ะเก้าอี้พระราชทานแก่โรงเรียนประสบอุทกภัย


          


              16 พฤษภาคม 2560 ณ กระทรวงศึกษาธิการ พลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานปล่อยคาราวานส่งโต๊ะเก้าอี้พระราชทานให้แก่สถานศึกษาที่ประสบอุทกภัย โดยมี นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูง กระทรวงศึกษาธิการ เข้าร่วมในพิธีปล่อยคาราวานฯ และในวันเดียวกันนี้ เมื่อเวลา 10.00 น. ได้มีการจัดพิธีมอบทุนพระราชทานเพื่อช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประสบเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ทั้ง 27 คน ณ ศาลากลางจังหวัด พร้อมเพรียงกัน ทั้ง 6 จังหวัด โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธาน เป็นที่เรียบร้อยแล้ว        
   ตามที่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้พระราชทานเงินช่วยเหลือเพื่อจัดหาโต๊ะและเก้าอี้พระราชทาน และเป็นทุนการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา และครอบครัวผู้เสียชีวิตที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ระหว่างวันที่ 1 ธันวาคม 2559 ถึงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2560 รวม 12 จังหวัด จำนวน 40 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้จากการจำหน่ายบัตรอวยพร และไดอารี่ภาพวาดฝีพระหัตถ์ โดยมอบหมายให้กระทรวงศึกษาธิการรับผิดชอบในการดูแล และบริหารจัดการ ทั้งในส่วนของโรงเรียนที่ได้รับความเสียหาย และทุนการศึกษาต่อเนื่อง
      นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทุนการศึกษาพระราชทานเพื่อช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประสบอุทกภัยในภาคใต้และหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินพระราชทานช่วยเหลือเพื่อจัดหาโต๊ะและเก้าอี้พระราชทาน ให้แก่สถานศึกษาที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ โดยแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย บรรลุตามวัตถุประสงค์ โปร่งใส รวดเร็ว มีการกำกับดูแล และรายงานผลความคืบหน้าการดำเนินงานต่อสำนักงานเลขาธิการคณะองคมนตรีเป็นระยะ ซึ่งกิจกรรมการปล่อยคาราวานครั้งนี้เป็นการส่งมอบโต๊ะเก้าอี้พระราชทานตามกำหนดเปิดภาคเรียนประจำปีการศึกษา 2560 โดยเงินพระราชทาน ในการจัดหาโต๊ะเก้าอี้พระราชทาน จำนวน 25 ล้านบาท สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมเป็นคณะกรรมการคัดเลือก กำหนดรูปแบบ  คุณลักษณะเฉพาะเพิ่มเติมจากมาตรฐานอุตสาหกรรม ที่มีขายในท้องตลาด และเชิญผู้แทนผู้บริหารจากเขตพื้นที่การศึกษา ครู และนักเรียนจากจังหวัดที่ได้รับพระราชทาน มาร่วมให้ข้อคิดเห็น กำหนดคุณลักษณะ ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ครุภัณฑ์  ที่มั่นคง แข็งแรง ทนทาน สวยงาม และสมพระเกียรติ ที่สำคัญ บริเวณหน้าโต๊ะ และพนักเก้าอี้จะมีอักษรข้อความว่า “พระราชทาน” ซึ่งเป็นโต๊ะเก้าอี้ของนักเรียนระดับอนุบาล 1,110 ชุด ประถมศึกษา 6,327 ชุด มัธยมศึกษา 2,199 ชุด และโต๊ะเก้าอี้ ครู 1,479 ชุด  รวม 11,115 ชุด  ทั้งนี้ ให้มีการควบคุม ดูแล บำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง ให้อยู่ในสภาพดี โดยสถาบันอาชีวศึกษาในพื้นที่ที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งโต๊ะและเก้าอี้พระราชทานจะทยอยจัดส่งตามงวดงานให้สถานศึกษา ทั้ง 10 จังหวัด ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2560 นี้
        นอกจากนี้มีการพระราชทานทุนการศึกษา จำนวน 15 ล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาค่าครองชีพ ค่าหอพัก และค่าอุปกรณ์การศึกษา ให้แก่เด็กนักเรียนหรือนักศึกษา ที่มีบุคคลในครอบครัวเสียชีวิต จากเหตุอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ซึ่งพบว่ามี 6 จังหวัด รวม 27 ทุน ประกอบด้วย ผู้ได้รับทุนการศึกษาพระราชทานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 6 ทุน ชุมพร 2 ทุน นครศรีธรรมราช 12 ทุน สงขลา 5 ทุน ตรัง 1 ทุน และจังหวัดนราธิวาส 1 ทุน ซึ่งเป็นทุนพระราชทานสำหรับผู้ที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี 4 คน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ 5 คน ระดับมัธยมศึกษา 3 คน ระดับประถมศึกษา 7 คน ระดับอนุบาล 2 คน การศึกษานอกระบบ 1 คน และยังไม่ถึงเกณฑ์เข้าศึกษา 5 คน “การดูแลและช่วยเหลือนักเรียนทุนการศึกษาพระราชทาน ทั้ง 27 ราย ให้ได้รับการศึกษาต่อเนื่องจนจบการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ หรือปริญญาตรี การดำเนินการหรือแนวทางการดำเนินงานเป็นไปตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และให้มีคณะกรรมการจังหวัดดูแลการใช้จ่ายเงิน พร้อมแจ้งปัญหา อุปสรรค ในการดำเนินงาน และรายงานผลการเรียนของนักเรียนหรือนักศึกษาให้คณะกรรมการจังหวัดทราบ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง โดยมีระบบดูแลเกี่ยวกับการเรียน ความเป็นอยู่ มีครูรับผิดชอบ ช่วยเหลือให้คำปรึกษา แนะแนว และประสานงานกับผู้ปกครอง พร้อมทั้งคอยให้ความช่วยเหลือนักเรียนหรือนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง” รมว.ศธ. กล่าว











ข่าวการศึกษา สพฐ. ประจำวันที่ 16 พฤษภาคม 2560


ดาวน์โหลด ข่าวการศึกษา(สพฐ.)วันที่16 พ.ค.60 

วันเสาร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พลเอก สุรเชษฐ์ จัดพิธีส่งมอบนักเรียนชายแดนใต้เข้า รร. ดัง โครงการ รร. อุปถัมภ์





วันที่ 13 พฤษภาคม 2560 เวลา 10.00 น. พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการ กพฐ. และนายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (สพก.จชต.) ร่วมกับตัวแทนผู้ปกครองนักเรียน และผู้บริหารโรงเรียนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ มอบตัวนักเรียนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ปีการศึกษา 2560 จำนวน 286 คน เข้าเรียนในโรงเรียนอุปถัมภ์ที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และโรงเรียนมีชื่อเสียงในภูมิภาค เป็นระยะเวลา 1 ปีการศึกษา โดยจัดพิธีมอบตัว ณ โรงแรมอัญชลีน่า บางกะปิ กรุงเทพฯ 
โครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) ดำเนินการโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)  มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาพร้อมทั้งพัฒนาศักยภาพทางวิชาการให้กับนักเรียนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ส่งเสริมโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม วิถีชีวิต ในสังคมพหุวัฒนธรรมและยกระดับคุณภาพชีวิตของเยาวชนในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้
นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการ กพฐ. เปิดเผยว่า ในปีการศึกษา 2560 สพฐ. ได้รับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดปัตตานี ยะลา นราธิวาส สตูล และสงขลา 4 อำเภอ คือ อำเภอจะนะ อำเภอเทพา อำเภอนาทวี และอำเภอสะบ้าย้อย เข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) แล้ว จำนวน 286 คน ประกอบด้วย นักเรียนจังหวัดปัตตานี จำนวน 108 คน นักเรียนจังหวัดยะลา จำนวน 25 คน นักเรียนจังหวัดนราธิวาส จำนวน 72 คน นักเรียนจังหวัดสตูล จำนวน 31 คน และนักเรียนจังหวัดสงขลา จำนวน 50 คน เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 73 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 100 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 113 คน เป็นเพศชายจำนวน 87 คน เพศหญิง จำนวน 199 คน มีนักเรียนศาสนาพุทธ จำนวน 171 คน ศาสนาอิสลาม จำนวน 114 คน และศาสนาคริสต์ จำนวน 1 คน
ด้านนายนพพร มากคงแก้ว ผู้อำนวยการ สพก.จชต. ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการเป็นโรงเรียนอุปถัมภ์ มีจำนวนทั้งสิ้น 54 โรง ประกอบด้วยโรงเรียนในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 36 โรง และโรงเรียนในภูมิภาค จำนวน 18 โรง อาทิ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย โรงเรียนบดินทร์เดชา (สิงห์ สิงหเสนี) โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนกัลยาณวัตร จังหวัดขอนแก่น เป็นต้น
"ทั้งนี้ นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมภ์ (ครอบครัวอุปถัมภ์) จะได้รับการสนับสนุนทุนการศึกษาจาก สพฐ. เพื่อการพัฒนาทางวิชาการ การพัฒนาทักษะชีวิต กาารแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในสังคมพหุวัฒนธรรม และเพื่อให้นักเรียนเป็นเยาวชนต้นแบบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป" นายนพพร กล่าว







สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                   ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการปร...