วันศุกร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560


ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.) จัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 ขึ้นในระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2560 ณ ค่ายลูกเสือปากบาง อำเภอละงู จังหวัดสตูล เพื่อแสดงออกถึงความจงรักภักดีของลูกเสือต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ เทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรี "ลูกเสือรวมพลัง ทำความดี สามัคคี เทิดทูนสถาบัน เชื่อมสัมพันธ์สู่อาเซียน"

วันศุกร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560

ประชุมจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก



วันที่ 24 มีนาคม 2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการการจัดทำแผนจัดการศึกษาแบบบูรณาการเพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก โดยมี นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงในกระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการ กศจ. ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและครูจากโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ ผู้แทนผู้ประกอบการภาคเอกชน ผู้แทนชุมชนและผู้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาในพื้นที่ทุกภาคส่วน รวมถึงสถานศึกษาในเขตพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก จำนวนทั้งสิ้นกว่า 1,100 คน ณ โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ ซิตี้ จอมเทียน จังหวัดชลบุรี

สพฐ.ออกอากาศสดรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ตอน”จัดเตรียมสถานที่เรียน สำหรับนักเรียนที่ไม่มีที่เรียน


นายอำนาจ วิชยานุวัติ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมด้วยนางงามพิศ ลวากร รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1, นายไสว บรรณาลัย ผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิณรงค์รอน และนางบุสบง พรหมจันทร์ ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดพุทธบูชา เป็นวิทยากรร่วมนำเสนอแนวทางการจัดเตรียมสถานที่เรียนสำหรับนักเรียนที่ไม่มีที่เรียน ในสังกัด สพฐ. ปีการศึกษา 2560 ออกอากาศสดรายการบ่ายนี้มีคำตอบ ตอน”จัดเตรียมสถานที่เรียน สำหรับนักเรียนที่ไม่มีที่เรียน”
(อ่านต่อ)

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 24 มี.ค. 2560


วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศธ. แถลงข่าวการจัดงานชุมนุมลูกเสือ จชต. ครั้งที่ 12 สานสัมพันธ์ 6 ประเทศอาเซียน




กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมหน่วยงานทางการศึกษาในสังกัด จับมือศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศปบ.จชต.)  เตรียมการจัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12  ระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2560 ณ จังหวัดสตูล

วันที่ 20 มีนาคม 2560 ที่หอประชุมเปรม 100 ปี โรงเรียนมหาวชิราวุธ จังหวัดสงขลา พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานการแถลงข่าวจัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 โดยมีนายอดินันท์ ปากบารา ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี นายบุญรักษ์ ยอดเพชร ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ พล.ต.เจตน์พัธน์ ศรีวงศ์ รองผู้อำนวยการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดสตูล (รอง ผอ.รมน.) ร่วมในพิธีแถลงข่าว  

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) กล่าวว่า ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงหน่วยงานทางการศึกษาทุกสังกัดในกระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมการจัดงานชุมนุมลูกเสือจังหวัดชายแดนภาคใต้ ครั้งที่ 12 ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-8 เมษายน 2560 ณ ค่ายลูกเสือปากบาง อำเภอละงู จังหวัดสตูล โดยมีนายแพทย์ธีระเกียรติ  เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิด ในวันที่ 5 เมษายน 2560 งานชุมชนลูกเสือครั้งนี้ จะมีลูกเสือเข้าร่วมประมาณ 6,000 คน ได้แก่ ลูกเสือจากหน่วยงานการศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ลูกเสือจากภูมิภาคต่าง ๆ และลูกเสือจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศกัมพูชา เวียดนาม สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย จำนวน 280 คน เพื่อเป็นกิจกรรมแสดงออกถึงความจงรักภักดีของลูกเสือต่อสถาบันชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ พร้อมเทิดพระเกียรติพระมหากษัตริย์ในพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมให้ลูกเสือทำความดีมีจิตอาสา มีความสามัคคีอยู่ร่วมกันในสังคมพหุวัฒนธรรมอย่างมีความสุข และร่วมกันบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมเป็นการพัฒนากิจกรรมและบุคลากรทางลูกเสือและยุวกาชาดในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ อีกด้วย

ทั้งนี้ ฐานกิจกรรมของการชุมนุมลูกเสือ ทั้ง 9 กิจกรรม ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมศาสตร์พระราชา กิจกรรมบุกเบิก กิจกรรมผจญภัย กิจกรรมศาสนสัมพันธ์ กิจกรรมทางน้ำ กิจกรรมวิทยาศาสตร์สิ่งประดิษฐ์   กิจกรรมทักษะชีวิต กิจกรรมเทิดไท้พระบรมราชจักรีวงศ์  และกิจกรรมประตูสู่อาเซียน ล้วนแล้วแต่เป็นฐานกิจกรรมที่ได้ฝึกประสบการณ์การดำรงชีพในค่าย  ฝึกความอดทน ซึ่งทางศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้มีการเตรียมความพร้อมแล้วในทุกด้าน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมชุมนุมได้รับความรู้ เสริมสร้างความสามัคคีในหมู่คณะให้กับเยาวชนลูกเสือ  เนตรนารี ที่จะสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับเพื่อนร่วมค่ายที่มาจากต่างพื้นที่กันอย่างมีความสุขและร่วมกันบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม เกิดความสามัคคีบนความหลากหลายทางวัฒนธรรม โดยคาดหวังให้กิจการลูกเสือจะสามารถเชื่อมโยงกับประเทศอื่นๆ ในกลุ่มอาเซียน และนำไปสู่ความสัมพันธ์อันดีในระดับประเทศต่อไป 
...............................................................

ดูภาพเพิ่มเติมที่ : https://www.facebook.com/obec.pr/posts/388641534839668


ศูนย์ประสานงานและบริหารการศึกษาจังหวัดชายแดนภาคใต้/ข่าว
ประชาสัมพันธ์ สพฐ. /ภาพ

วันเสาร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2560

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค


(Boot Camp) ระดับภูมิภาค: เมื่อวันเสาร์ที่ 18 มีนาคม 2560 นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายและตรวจเยี่ยมศูนย์พัฒนาครูด้านการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ (Boot Camp) ระดับภูมิภาค: Regional English Training Centre ณ ศูนย์โรงเรียนชลกันยานุกูล อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี โดยมี ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, นายสมศักดิ์ ทองเนียม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18, นางสมพร ฤทธาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 18, นางสาวเฉิดเฉลา แก้วประเคน ผู้อำนวยการโรงเรียนชลกันยานุกูล, ผู้บริหารสถานศึกษา ,คณาจารย์, วิทยากรชาวต่างชาติจากบริติช เคานซิล ประเทศไทย, Master Trainers ชาวไทย และครูภาษาอังกฤษที่เข้าร่วมอบรม Boot Camp ร่วมรับฟังนโยบาย
.
(ภาพ:นายภิญโญ เพิ่มพูล ครูโรงเรียนชลกันยานุกูล, ประชาสัมพันธ์ สพม.18: ข่าว)

เลขาธิการ กพฐ. ตรวจเยี่ยมสนามสอบครูผู้ช่วย กรณีมีความจำเป็นหรือเหตุพิเศษ ปี 60

          
         (วันที่ 18 มีนาคม 2560) นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายณรงค์ แพ้วพลสงค์ ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. และผู้บริหาร สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการคัดเลือกบุคคลเพื่อบรรจุและแต่งตั้งเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครูผู้ช่วย กรณีที่มีความจำเป็นหรือมีเหตุพิเศษ ปี พ.ศ. 2560 ณ โรงเรียนสตรีวิทยา 2 เขตลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร

วันพฤหัสบดีที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2560

เลขาธิการ กพฐ.เปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 สมาคมผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(ประเทศไทย)


นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นประธารเปิดการประชุมสัมมนาทางวิชาการและประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2559 (อ่านต่อ)

ลขาธิการ กพฐ.ร่วมงานเปิดค่าย "เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ


วันที่ 15 มีนาคม 2560ฯพณฯ พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ประธานกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เปิดโครงการค่าย เยาวชน...รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” รุ่นที่ 1โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการ กพฐ. กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดงาน (อ่านต่อ)

วันจันทร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2560

รมว.ศธ. เปิดประชุมการเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ

          

         (วันที่ 13 มีนาคม 2560) นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมการเสนอโครงการหรือหลักสูตรการอบรมเพื่อพัฒนาครูประจำการ โดยมีนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมบรรยายแนวทางการบริหารงบประมาณพัฒนาตนเองของครู นางเกศทิพย์ ศุภวานิช ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาครูและบุคลากรการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำเสนอกรอบข้อเสนอโครงการหรือหลักสูตรเพื่อพัฒนาครูประจำการ มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 450 คน ณ โรงแรมบางกอกพาเลซ กรุงเทพมหานคร

โครงการจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนภาคบังคับสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2560


              13 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมเชียงใหม่ออคิด จังหวัดเชียงใหม่ นายสนิท แย้มเกษร ที่ปรึกษาด้านนโยบายและแผน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมนิเทศ ติดตาม และประเมินผลโรงเรียนต้นแบบ โครงการจัดทำแผนยกระดับคุณภาพการศึกษาและพัฒนาอัตลักษณ์ผู้เรียนภาคบังคับสู่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระดับประเทศ ปีงบประมาณ 2560

สพฐ.จัดการแข่งขันกีฬาสานสัมพันธ์ ห้องเรียนกีฬา ครั้งที่ 1


               13 มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนกาญจนาภิเษกวิทยาลัยกระบี่ จังหวัดกระบี่ พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) ลงพื้นที่เป็นประธานเปิดการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ ห้องเรียนกีฬาครั้งที่ 1 “เกมส์แห่งความสามัคคี สดุดีองค์ราชันย์ สานสัมพันธ์ห้องเรียนกีฬา”

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 13 มี.ค. 2560


วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

ศธ.เดินหน้าจัดการเรียนรวม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา


.
     11 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมริเวิอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมสัมมนาขับเคลื่อนนโยบายการบริหารจัดการเรียนรวมให้มีคุณภาพ ปีงบประมาณ 2560 โดยการจัดประชุมสัมมนาครั้งนี้เป็นการประชุมในระดับนโยบายก่อนการขับเคลื่อนลงสู่แนวปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมที่มีความชัดเจนต่อการจัดการศึกษาสำหรับนักเรียนพิการ โดยเฉพาะการสนับสนุนให้เกิดการจัดการศึกษาในรูปแบบการเรียนรวมอย่างมีประสิทธิภาพตรงตามเป้าหมายของรัฐบาล 

     รมว.ศธ.กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษตั้งแต่แรกเกิด หรือพบความพิการจนตลอดชีวิต ให้เข้าถึงโอกาส ทางการศึกษาอย่างทั่วถึงมีคุณภาพและเสมอภาค โดยทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษในทุกระดับ ทุกระบบ และทุกประเภทความพิการ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา และได้ประกาศนโยบาย ในปี 2559 ให้เป็นปีแห่งความร่วมมือด้านการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ซึ่งมีแนวทางในการดำเนินงาน จัดบริการช่วยเหลือในระยะแรกเริ่ม (Early Intervention : EI) เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษได้เข้าถึงบริการทางการศึกษาตั้งแต่แรกเกิดหรือพบความพิการ จัดการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education) เพื่อขยายโอกาสให้เด็กทุกคนได้รับโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียมโดยไม่เลือกปฏิบัติ และการจัดการศึกษาเพื่อการมีงานทำ (Transition from school to work) เพื่อให้เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษมีทีกษะชีวิต และทักษะอาชีพ

     สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้เล็งเห็น ความสำคัญในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ตั้งแต่แรกเกิด หรือแรกพบความพิการจนตลอดชีวิต โดยส่งเสริมและจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เพื่อให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างมีคุณภาพ ทั่วถึง และเสมอภาค โดย ให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ ในทุกระดับ ทุกระบบ และทุกประเภทความพิการ เพื่อเป็นการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยจัดประชุมสัมมนาผู้รับผิดชอบในระดับเขตพื้นที่การศึกษาและศูนย์การศึกษาพิเศษขึ้น เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในนโยบาย และแนวทางปฏิบัติงานก่อนที่จะนำไปดำเนินงานในทุกพื้นที่ รวมทั้งพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนที่จัดการศึกษาเรียนรวมในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ นักเรียนพิการได้รับการพัฒนาให้มีคุณภาพชีวิต ทักษะการดำรงชีวิต ทักษะทางสังคม และทักษะทางวิชาการ ตามกระบวนการที่กำหนดไว้ในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (IEP : Individualized Education Program) ขยายโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชนพิการได้อย่างทั่วถึง ครอบคลุมทุกพื้นที่ ตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ตั้งไว้ ให้ครอบคลุมโรงเรียนที่จัดการเรียนรวม 21,250 โรงเรียน จำนวน 337,144 คน ให้ได้รับสิทธิและโอกาสอย่างเท่าเทียม โดยมีโรงเรียนต้นแบบการเรียนรวม 1,228 โรงเรียน ได้รับการพัฒนาให้เป็นหน่วยบริการ สนับสนุนและช่วยเหลือสำหรับนักเรียนพิการเรียนรวมและเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับโรงเรียนใกล้เคียงที่รับเด็กพิการเข้าเรียน ดังนั้นในปีงบประมาณ 2560 สพฐ. จึงเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียนต้นแบบการเรียนรวมที่เป็นศูนย์บริการทางการศึกษาพิเศษ และพัฒนาโรงเรียนที่จัดการเรียนร่วมให้ได้มาตรฐาน โดยเน้นการมีส่วนร่วมเพื่อให้สามารถบริการนักเรียนพิการที่เข้าเรียนได้อย่างมีคุณภาพต่อไป
 
     “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้โรงเรียนที่จัดการเรียนรวมในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพนั้น จะต้องเกิดจากความร่วมมือร่วมใจกันระหว่างโรงเรียน ผู้ปกครอง องค์กร นักสหวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้ง การรวมตัวของชุมชนที่ตระหนักในความสำคัญที่จะร่วมดูแลเด็กๆ ในพื้นที่ของตนเอง เพื่อจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ การประสานความร่วมมือในระหว่างองค์กรต่างๆ จึงเป็นเรื่องท้าท้ายอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีส่วนรับผิดชอบในเรื่องนี้ ที่จะนำพานักเรียนพิการให้ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพตามศักยภาพของแต่ละบุคคลต่อไป” รมช.ศธ.กล่าว

รมว.ศธ.รับฟังปัญหาโรงเรียน ICU ณ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนคร

         

          นายแพทย์ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) พร้อมด้วยนายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ลงพื้นที่รับฟังปัญหาของโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ "โรงเรียนที่ต้องการความช่วยเหลือและพัฒนาเป็นพิเศษอย่างเร่งด่วน" หรือโรงเรียน ICU (Intensive Care Unit) เมื่อวันศุกร์ที่ 10 มีนาคม 2560 ณ โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนครโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ผู้แทนฝ่ายความมั่นคง ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา นายประเสริฐ ปัตโชติชัย ผู้อำนวยการโรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา ให้การต้อนรับและร่วมประชุมหารือร่วมกัน
          รมว.ศธ. กล่าวว่า โรงเรียนเต่างอยพัฒนศึกษา จ.สกลนคร สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียน ICU เนื่องจากประสบปัญหาในหลาย ๆ ด้าน เช่น 1. ด้านนักเรียน พบว่า นักเรียนขาดแรงจูงใจ ขาดความกระตือรือร้นในการเรียน ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์ มีพื้นฐานความรู้ที่แตกต่างกัน ไม่กล้าแสดงความคิดเห็น มีจิตสาธารณะต่ำนักเรียนมาจากครอบครัวที่ขาดความพร้อม ขาดความเอาใจใส่ ครอบครัวที่มีปัญหา นักเรียนจบหลักสูตรการศึกษา ไม่มีทักษะอาชีพ นักเรียนมีปัญหาด้านการอ่าน เขียนภาษาไทย 2.ด้านครู พบว่า ครูไม่ได้ดำเนินการตามรูปแบบ PLC ครูไม่ได้จัดกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning ขาดครูและบุคลากรที่เป็นเจ้าของภาษา เช่น ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาเวียดนาม 3. ด้านหลักสูตร พบว่า หลักสูตรไม่สอดคล้องต่อบริบทชุมชนในการประกอบอาชีพ 4. ด้านเทคโนโลยี พบว่าทางโรงเรียนมีอุปกรณ์ไม่ทันสมัยและไม่มีประสิทธิภาพ ขาดห้องปฏิบัติการด้านภาษา (เช่น อังกฤษ จีน เวียดนาม) ขาดห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ครบวงจร ขาดสื่อและอุปกรณ์ในห้องปฏิบัติการ ต่าง ๆ เช่น ห้องเคมี ห้องฟิสิกส์ ห้องชีววิทยา ห้องคณิตศาสตร์ (กระดานอัจฉริยะ) ห้องปฏิบัติการทางภาษา เป็นต้น
          ซึ่งจากการวิเคราะห์ปัญหาดังกล่าว ถือเป็นปัญหาที่ไม่จำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาอย่างฉุกเฉินเร่งด่วนตามโครงการโรงเรียนไอซียู จึงไม่นับเป็นโรงเรียนไอซียู แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้จะไม่ใช่โรงเรียนไอซียูแท้ แต่ก็จะได้รับการพัฒนา และแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เร็วกว่าปกติ ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาครู ให้ตอบโจทย์การบูรณาการการจัดการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิดสู่ผู้เรียน ใน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ส่วนด้านหลักสูตร ก็จะแก้ไขโดยการจัดการศึกษาเพื่อสร้างอาชีพและมีงานทำ โดยใช้กระบวนการการเรียนการสอนตามหลักสูตรมากยิ่งขึ้นภายใต้การดำเนินการเต่างอยโมเดล 4.0 โดยการ MOU จับมือกับหน่วยงานภาคีเรือข่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาโดยมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          นอกจากนี้ รมว.ศธ. ได้กล่าวถึงภาพรวมการแก้ไขปัญหาโรงเรียนไอซียูให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพนั้นว่าจะต้องมีการกำหนดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน พร้อมทั้งจะมีการจัดสรรทรัพยากรในด้านต่าง ๆ ให้เพียงพอ โดยใช้แนวทางในการพัฒนาครูที่จะต้องมีการขับเคลื่อนมาจากปัจจัยภายใน และจะต้องคำนึงถึงปัจจัยภายนอกด้วย ซึ่งต่อจากนี้จะมีการจัดตั้งสถาบันคุรุพัฒนา ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาขึ้น ที่จะทำหน้าที่ในการอบรมด้านวิชาการให้นักศึกษาครูจบใหม่โดยหลักสูตรการอบรมเพื่อการพัฒนาครู ที่ผ่านการคัดเลือกโดยสถาบันคุรุศึกษา เพื่อเป็นการกำหนดทิศทาง แนวทางการเป็นครูที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งแยกส่วนกับสำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา สพฐ. ที่จะทำหน้าที่อบรมพัฒนาให้แก่ผู้ที่เป็นครูสังกัด สพฐ. อยู่แล้ว ด้วยการวางแนวทางปฏิรูปครูครบวงจร เชื่อมการพัฒนาครูกับวิทยฐานะ โดยวัดจากชั่วโมงการสอน ส่วนงบพัฒนาครูจะใช้เป็นระบบคูปอง 10,000 บาทต่อคนต่อปี รวมงบประมาณกว่า 4 พันล้านบาท เพื่อเชื่อมโยงกับการจัดการเรียนรู้แบบ Active learning พร้อมทั้งส่งเสริมให้มีการอบรม PLC (Professional Learning Community) หรือ "ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ" ให้กับครู และผู้บริหารสถานศึกษาทั่วประเทศ ด้วยการนำคนมาอยู่รวมกัน ให้เกิดการเรียนรู้ และแบ่งปันความรู้กันระหว่างผู้เข้าร่วมอบรม จนกระทั่งเกิดการสะท้อนความคิดในด้านต่าง ๆ ที่จะเป็นแนวทางการพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป
          ซึ่งขณะนี้ สามารถสรุปจำนวนโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนไอซียู ที่จะต้องแก้ไขปัญหาเร่งด่วนฉุกเฉินประมาณ 2,252โรง และรองลงมาคือจะต้องมีการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนประมาณ 1,954 โรงและโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการแต่ถือว่าไม่มีความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน แต่ก็จะได้รับการแก้ไขปัญหาเร็วกว่าปกติ อีกประมาณ 850 โรง ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการก็จะเข้ามาแก้ไขและให้ความช่วยเหลือ เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาและยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต่อไป
          นอกจากนี้ รมว.ศธ. ได้เดินทางไปยังหอประชุมมหาวชิราลงกรณ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร เพื่อเป็นประธานรับฟังผลงานการสร้างเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดี ชมผลงานของชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกล และการแสดงของเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดีหมู่บ้านห้วยหีบบ้านนาสีนวล อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร พร้อมรับฟังการ นำเสนอผลงานของชมรมส่งเสริมคนดีเมืองสกลตามแผนงานการสร้างเด็กรุ่นใหม่เป็นคนดี โดย รมว.ศธ. กล่าวทิ้งท้ายว่า การที่ชุมชนเข้มแข็ง ความสัมพันธ์ผู้คนในสังคมดี ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของชาวสกลนครที่สามารถใช้เป็นบทเรียนในการเรียนรู้สำหรับที่อื่น ๆ ได้
ทิพวรรณ ข่าว

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2560

เปิดงานนิทรรศการทางวิชาการหนึ่งห้องเรียนหนึ่งโครงงาน 2559


นายพิธาน พื้นทอง ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบเครือข่ายและการสื่อสาร เป็นประธานเปิดงานนิทรรศการทางวิชาการหนึ่งห้องเรียนหนึ่งโครงงาน 2559 "บูรณาการทักษะชีวิตสู่การเรียนรู้ที่ยั่งยืน" TUP. OCOP 2016. ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ

เลขา กพฐ. รุดเยี่ยมครูและนักเรียนที่ประสบอุบัติเหตุรถคว่ำ


          จากเหตุการณ์  เมื่อเวลาประมาณ 02.00น. วันที่ 9 มีนาคม2560 ได้เกิดอุบัติเหตุรถบัสรับจ้าง 2 ชั้นนำนักเรียนจากโรงเรียนพังทุยพัฒนศึกษา อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 25 จะไปทัศนศึกษาที่อ่าวคุ้งกระเบน จังหวัดจันทบุรี เป็นนักเรียนระดับม.4 - ม.6 จำนวน 45 ราย ครู5 คน คนขับ 2 คน เมื่อถึงบริเวณโค้งหน้าศาลโทนไม่สามารถควบคุมรถได้ทำให้รถพุ่งตกลงไปในเหวข้างทางประมาณ 50 เมตร

          เบื้องต้นมีผู้เสียชีวิต 6 ราย เสียในที่เกิดเหตุ 5 รายและเสียชีวิตที่ รพ. 1 ราย เป็น ครู 4 ราย นร. 2 ราย และมีผู้บาดเจ็บจำนวน 42 ราย สาหัส 5 ราย(ครู 1 นร.4) เล็กน้อย 38 ราย

          อยู่ รพ.อภัยภูเบศ 1 ราย(ครูสาหัส) รพ.กบินทร์บุรี 16 ราย(สาหัส 4) และ รพ.นาดี เจ็บเล็กน้อย 25 ราย นั้น

          ล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายการุณ สกุลประดิษฐ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.)  นายธีร์  ภวังคนันท์  ผู้อำนวยการศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือเด็กนักเรียน (ฉก.ชน.) นายสันติสุข ภูมสุทธินันท์ ผอ.กพร. ได้เดินทางมายังโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร์ จ.ปราจีนบุรี  พร้อมเยี่ยมให้กำลังใจคุณครูจิราพร วรรัตน์ ครู และนักเรียน รร.พังทุยพัฒนศึกษา ที่ประสบอุบัติเหตุรถบัสทัศนศึกษาตกเขาบริเวณศาลเจ้าพ่อโทน อ.นาดี จ.ปราจีนบุรี  พร้อมมอบเงินช่วยเหลือในเบื้องต้นจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ข่าว : วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ pr สพม.7
ภาพ : บรรจง ตั้งคำ

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 9 มี.ค. 2560


วันพุธที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2560

สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบ NT กรุงเทพฯ


        (8 มีนาคม 2560) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักทดสอบทางการศึกษา ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ (National Test หรือ NT) ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 ณ โรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร

          การทดสอบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียนระดับชาติ ซึ่งจัดสอบโดย สพฐ. เป็นการทดสอบเพื่อวัดมาตรฐานการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษา ใน 3 ด้าน คือ ภาษา คำนวน และการใช้เหตุผล มีทั้งการสอบแบบอัตนัยและปรนัย โดยจัดสอบทั่วประเทศ ทั้งโรงเรียนที่อยู่ในสังกัด สพฐ. สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา การจัดการศึกษาโดยครอบครัว และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน (สช.) มีจำนวนนักเรียนที่เข้าร่วมทดสอบกว่า 8 แสนคนทั่วประเทศ

          สำหรับในเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานครนั้น มีจำนวนโรงเรียนที่จัดสอบ 50 โรงเรียน มีนักเรียนเข้ารับการทดสอบจำนวน 4,684 คน จากการลงพื้นที่โรงเรียนพญาไทและโรงเรียนพิบูลประชาสรรค์ในวันนี้ ซึ่งมีนักเรียนเข้าสอบจำนวน 206 คน จากห้องสอบ 6 ห้อง และ 95 คน จากห้องสอบ 3 ห้อง ตามลำดับ พบว่าการสอบเป็นไปด้วยดี คณะกรรมการผู้คุมสอบสามารถจัดสอบได้อย่างราบรื่น มีปัญหาบ้างในบางห้องสอบที่มีเด็กนักเรียนพิเศษ พบว่ามีการฉีกกระดาษคำตอบ แต่ไม่มีผลกับการสอบ สำหรับปัญหาอื่นๆที่พบและข้อเสนอแนะจากแต่ละโรงเรียน ทาง สพฐ. จะได้นำไปแก้ไขและปรับปรุงในการจัดสอบครั้งต่อไป

ศึกษาธิการจับมือสาธารณสุขปลูกฝังเยาวชน เข้าใจปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี


(8 มีนาคม 2560) นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมว.ศธ.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดย ศ.คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ว่าด้วยการสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนมีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตั้งแต่ระดับประถมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนพื้นที่เสี่ยง 459 แห่งใน 27 จังหวัดเพื่อปลูกฝังให้คนรุ่นใหม่ได้มีความรู้ความเข้าใจเห็นว่า ความสำคัญในปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดี โดยมี นายบุญรักษ์ ยอดเพชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารระดับสูงกระทรวงสาธารณสุข ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี ณ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดนนทบุรี
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการเรื่องการจัดการเรียนการสอนพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในครั้งนี้ ถือเป็นการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์ทศวรรษกำจัดปัญหาพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตามมติสมัชชาสุขภาพเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2558 ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาโรคพยาธิใบไม้ตับ และมะเร็งท่อน้ำดีอย่างยั่งยืน โดยการร่วมมือในครั้งนี้กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และหน่วยงานภาคีเครือข่ายได้ร่วมกันสนับสนุนการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เยาวชนได้มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะปฏิบัติที่ถูกต้องเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีตั้งแต่ระดับประถมวัยถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยกระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนองค์ความรู้และคู่มือแนวทางในการจัดทำหน่วยการเรียนการจัดการเรียนรู้หรือสื่อการสอนให้แก่กระทรวงศึกษาธิการ โดยตั้งเป้าให้เด็กนักเรียนและเยาวชนไทยได้มีความรู้ความเข้าใจเรื่องโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีส่งผลให้สามารถนำความรู้สู่การปฏิบัติที่ถูกต้องเหมาะสมทั้งที่โรงเรียนและบ้านเรือน เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสม เป็นการส่งเสริมสุขภาพและเป็นประโยชน์ต่อทั้งตนเอง ครอบครัว และชุมชน นอกจากนี้ยังเป็นการถวายเป็นพระราชกุศล ผ่านกิจกรรมรณรงค์และสร้างกระแสปรุงปลาสุกและสนับสนุนผู้ประกอบการร่วมมือปรุงปลาปลอดพยาธิในพื้นที่เป้าหมาย 27 จังหวัดเสี่ยงสูง 138 อำเภอ 209 ตำบล ด้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการดำเนินงานรอบ 12 เดือนที่ผ่านมา กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย คัดกรองพยาธิใบไม้ตับในประชาชนอายุ 15 ปี ขึ้นไป โดยการให้ยาและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวน 80,000 ราย พร้อมตรวจคัดกรองมะเร็งท่อน้ำดี ในประชาชนกลุ่มเสี่ยงอายุ 40 ปีขึ้นไป จำนวน 160,000 ราย  ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและผ่าตัด จำนวน 800 รายได้รับการดูแลรักษาแบบประคับประคอง จำนวน 800 ราย และเข้าสู่การคัดกรองเพื่อค้นหาผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีให้ได้รับการผ่าตัดที่รวดเร็ว ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข่าว : ทิพวรรณ์ เมืองเสน
ภาพ : กำธร สาธา

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 8 มี.ค. 2560


วันอังคารที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2560

รมช.ศธ. พบปะผู้ร่วมประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผน และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม ในเขตภาคเหนือ

(วันที่ 5 มีนาคม 2560) หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีปิดการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการ การจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา พร้อมบรรยายพิเศษและพบปะกับผู้เข้าร่วมการประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน (อ่านต่อ)

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 7 มี.ค. 2560


วันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2560

รมช.ศธ. มอบนโยบายเชิงปฏิบัติการ จัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนคุณธรรม

(วันที่ 1 มีนาคม 2560) หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
(รมช.ศธ.) พบปะและมอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการอย่างเป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน โดยมีศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เข้าร่วมประชุมกว่า 700 คน ณ โรงแรมนภาลัย จังหวัดอุดรธานี (อ่านต่อ)

รมว.ศธเป็นประธานเปิดการประชุมผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ

นายแพทย์ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธานเปิดการประชุมผู้อำนวยการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2560 ณ โรงแรมปรินซ์พาเลซ กรุงเทพมหานคร สำหรับการจัดงานการประชุมในครั้งนี้จัดเพื่อพื่อรับฟังและทำความเข้าใจ ถึงแนวทางในการดำเนินงานตามนโยบายของรัฐบาลจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการเพื่อให้การพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนการพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา (อ่านต่อ)

ข่าวการศึกษา (สพฐ.) วันที่ 2 มี.ค. 2560


สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                   ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการปร...