วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2562

สพฐ.และคณะติดตามลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School จ.ระยอง

สพฐ.และคณะติดตามลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนร่วมพัฒนา Partnership School จ.ระยอง

นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.)
ว่าที ร.ต.ธนุ วงษ์จินดา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นายมีชัย วีระไวทยะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิวีระไวทยะ
รองประธานคณะกรรมการโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
นางปัทมา วีระวานิช ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ
นางสาวจารุนันท์ แก้วทองนาค ผู้แทนจากสำนักงาน ก.ค.ศ.
นางจารุภา สังขารมย์ ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.
และคณะกรรมการโครงการฯ เดินทางตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของโรงเรียนวัดกระเฉท และโรงเรียนวัดเกาะ จ.ระยอง ซึ่งเป็นโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)
นายสนิท แย้มเกษร รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า การตรวจเยี่ยมโรงเรียนวัดกระเฉท และโรงเรียนวัดเกาะ
เพื่อดูความก้าวหน้าภายหลังจากที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการมาระยะหนึ่งแล้ว และพบว่าโรงเรียนทั้ง 2 แห่งสามารถบริหารจัดการได้ดีและมีความหลากหลายทั้งทางวิชาการและการปฏิบัติทางการเกษตรของเด็กนักเรียน
ที่สามรรถนำผลผลิตที่ได้ไปขายได้ทั้งเงินและได้ความรู้ให้เด็กและชุมชนประกอบอาชีพด้วย
โครงการร่วมพัฒนา (Partnership School Project) มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้ภาคเอกชนที่มีความรู้ความสามารถเข้ามาร่วมเป็นกรรมการบริหาร ในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน เพื่อมาร่วมคิดร่วมพัฒนา และร่วมประเมินติดตามผลการจัดการศึกษา การประเมินครู คุณภาพนักเรียน ชุมชน
โดยใช้โรงเรียนเป็นศูนย์กลาง โดยเริ่มแรกภาคเอกชนและโรงเรียนจะต้องทำแผนพัฒนาร่วมกัน ทั้งด้านวิชาการ กิจกรรมที่จะพัฒนานักเรียนในด้านต่าง ๆ และกิจกรรมร่วมกับชุมชนที่เข้ามาร่วมพัฒนาโรงเรียน
ขณะนี้โรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการฯมีความเข้าใจและสามารถพัฒนาไปได้มาก และเชื่อว่าโครงการฯนี้จะดำเนินการต่อไปอย่างแน่นอน เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาล โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่เป็นผู้มอบนโยบายนี้ ให้กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินโครงการฯ ประกอบกับภาคเอกชนที่ร่วม MOU สนับสนุนโครงการนี้เป็นระยะเวลา 5 ปี ซึ่งก็จะทำให้โรงเรียนและชุมชนมีความเข้มแข็งขึ้น
ซึ่งโครงการได้ตั้งเป้าจะให้มีโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ให้ครบทุกจังหวัด
ขณะเดียวกัน ดร.สุเทพ ชิตยวงศ์ เลขาธิการ กพฐ.
ได้มีนโยบายให้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา(สพท.)ทั่วประเทศ ร่วมกับภาคเอกชนให้เข้ามาสนับสนุนการศึกษา นำร่องเขตพื้นที่ละ 5 โรงเรียน และคาดว่าภายใน 2 เดือนนี้จะทราบตัวเลขโรงเรียน และจำนวนบริษัทเอกชนที่มาร่วมสนับสนุน
โดยในวันนี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการสถานศึกษาในรูปแบบโรงเรียนรวมพัฒนา(Partnership School Project)
โดยมีบริษัทเอกชนต่างๆ รวมถึงหอการค้า จ.ระยอง เข้าร่วมประชุมด้วย
และจะนำผลการตรวจเยี่ยมโรงเรียนในวันนี้เข้าหารือในที่ประชุมด้วย คาดว่าจะมีบริษัทเอกชนเข้าร่วมสนับสนุนโรงเรียนในโครงการฯให้สามารถพัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น








วันพุธที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2562

“โครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 2”




“โครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ ครั้งที่ 2”

หลักการและเหตุผล

                    ทุกวันนี้ คนไทยมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ต่างไปจากเดิมมากมาย
มีโรคที่เกิดขึ้นทั้งจากเชื้อโรค 
สภาพแวดล้อม และพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต
เพราะฉะนั้นการมีสุขภาพที่ดีนั้นต้องประกอบด้วย 4 มิติ คือ กาย ใจ ปัญญา และสังคม
และนั่นก็คือภารกิจของ สสส. ในการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อ “ป้องกันก่อนรักษา”
                    ด้วยความเชื่อในพลังคนรุ่นใหม่ในการเปลี่ยนแปลงโลก และเชื่อมั่น
ในศักยภาพของเยาวชน
 และเครือข่ายครูที่จะเป็นกำลังสำคัญในการทำงาน
สร้างเสริมสุขภาพ สร้างนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงให้คนมีสุขภาพที่ดีขึ้นได้
สสส. จึงได้จัดโครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ


 (ThaiHealth Inno Awards) ขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 –
กรกฎาคม 2561 
เพื่อสร้างโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่แสดงความคิดความสามารถ
บ่มเพาะทักษะความสามารถในการประดิษฐ์ คิดค้น ต่อยอดนวัตกรรม
 ผ่านการวิเคราะห์การใช้วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งปลูกฝัง
แนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ เพื่อนำไปแก้ไขปัญหา
สุขภาพในชุมชนและสังคมได้จริง โดยแบ่งการประกวดเป็น 2 ระดับ ได้แก่
ระดับมัธยมศึกษา (ม.1 - 6) และ ระดับอาชีวศึกษา (ปวช. หรือเทียบเท่า)

                    สสส. มุ่งหวังที่จะสร้างและพัฒนาเยาวชนไทยให้เป็น “เมล็ดพันธุ์นวัตกร
สร้างเสริมสุขภาพ”โดยการบ่มเพาะทักษะ ความรู้ ความสามารถเพื่อบ่มเพาะทักษะ
ความรู้ ความสามารถด้านการวิจัย ประดิษฐ์คิดค้น สร้างสรรค์นวัตกรรมให้สามารถใช้ได้จริง
เพื่อสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ที่ใส่ใจด้านการสร้างเสริมสุขภาพ


โครงการประกวดนวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (ThaiHealth Inno Awards) ครั้งที่ 2
จึงได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อเสริมสร้างวิธีคิดในการพัฒนานวัตกรรมให้สามารถตอบโจทย์
ความต้องการของการสร้างเสริมสุขภาพให้กับเด็กและเยาวชนที่จะเป็นกำลังสำคัญที่ทำให้คน
ในชุมชนและสังคมมีสุขภาพที่ดีได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์ของโครงการ

                    1. สร้างโอกาสให้กับเยาวชนนักคิด นักวิจัย นักประดิษฐ์ นวัตกร 
ได้สร้างสรรค์โครงงานผลงานสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมด้านการสร้างเสริมสุขภาพ
ที่สามารถต่อยอดและนําไปพัฒนาให้เกิดขึ้นได้จริง 

                    2. บ่มเพาะทักษะ ความรู้ ความสามารถของเยาวชนด้านการวิจัย ประดิษฐ์ คิดค้น
และสร้างสรรค์นวัตกรรม และเพิ่มความเข้าใจในการต่อยอดผลงานให้สามารถเกิดขึ้นได้จริง
รวมถึงบ่มเพาะแนวคิดด้านการสร้างเสริมสุขภาพเพื่อสร้างนวัตกรรุ่นใหม่ที่ใส่ใจด้านสุขภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

                   สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
โดย สำนักพัฒนาภาคีสัมพันธ์และวิเทศสัมพันธ์ สำนักศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ

และฝ่ายสนับสนุนงานนวัตกรรม

รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่

สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                   ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการปร...