วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567

สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

 

 


                              

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมขับเคลื่อนแผนการยกระดับผลการประเมินจากโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) กลุ่มผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ Zoom Meeting พร้อมด้วย นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) บรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมประชุม และรับฟังการนำเสนอแผนการขับเคลื่อนเพื่อยกระดับผลการประเมิน PISA จากผู้อำนวยการ สพม. ทั่วประเทศ โดยมี นายวิษณุ ทรัพย์สมบัติ ผู้อำนวยการสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา รักษาการที่ปรึกษา สพฐ. นายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์ศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา นายชนาธิป ทุ้ยแป ผู้อำนวยการสำนักทดสอบทางศึกษา รวมถึงผู้อำนวยการ สพม. จำนวน 50 คน รองผอ. สพท จำนวน 9 คน ศึกษานิเทศก์ กว่า 120 คน  และนักวิชาการศึกษาและบุคลากรของ สพฐ. จาก 5 สำนัก ได้แก่ สทศ. สวก. สบว. สบม. ศนฐ. เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้

เป็นการประชุมเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจบทบาท หน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมสนับสนุนสถานศึกษาให้พร้อมรับการประเมิน PISA 2025 รวมทั้งสร้างความรู้ความเข้าใจแผนการดำเนินงานยกระดับผลการประเมินจากโปรแกรมประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล (PISA) ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้นำเสนอแนวทางการขับเคลื่อน PISA 2025 ต่อที่ประชุม

โอกาสนี้ ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวเปิดการประชุมและมอบนโยบาย การยกระดับผลประเมิน PISA เป็นเรื่องที่พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ความสำคัญและเน้นย้ำให้ผู้บริหารหน่วยงานในสังกัดขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ซึ่งการยกระดับผลประเมิน PISA นั้นจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทั้งส่วนกลางและเขตพื้นที่ ในการร่วมกันวางแผนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาและผลประเมิน PISA 2025 ให้สูงขึ้น โดยต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนาผู้อำนวยการสถานศึกษาและครูให้มีความตระหนักถึงความสำคัญของการยกระดับผลประเมิน PISA 2025 และขับเคลื่อนตามแผนขับเคลื่อนฯ อย่างจริงจัง ทั้งการจัดการเรียนการสอนให้เด็กฝึกคิดวิเคราะห์เพื่อพัฒนาความฉลาดรู้ด้านการอ่าน ด้านวิทยาศาสตร์ และด้านคณิตศาสตร์ รวมถึงสนับสนุนให้ผู้เรียนมีความเชี่ยวชาญในการทำข้อสอบตามแนว PISA ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ และควรสร้างจิตสำนึกให้ผู้เรียนว่าพวกเขาเป็นตัวแทนของประเทศไทย ซึ่งผลจากการประเมินจะเป็นข้อมูลชี้วัดคุณภาพการจัดการศึกษาของประเทศเราเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ

ทางด้าน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการ กพฐ. ขอให้ ผอ.เขตพื้นที่ร่วมผนึกกำลังยกระดับมาตรฐานการศึกษาทั้งประเทศ และเตรียมความพร้อมในการประเมิน PISA 2025 ขับเคลื่อนดำเนินกิจกรรมตามแผนที่กำหนดไว้อย่างเข้มแข็ง อีกทั้งการบูรณาการความร่วมมือต้องอาศัยความร่วมแรงร่วมใจจาก สพม. ที่มีโรงเรียนที่มีผล PISA 2022 มากกว่าค่าเฉลี่ย OECD เพื่อช่วยเหลือทั้งโรงเรียนเครือข่าย และโรงเรียนขยายโอกาสที่มีผู้เรียนกลุ่มเป้าหมาย PISA 2025 เพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาทั้งประเทศ ขณะที่ ผอ.สพม. ศึกษานิเทศก์ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องเข้าใจข้อสอบตามแนว PISA ทั้งรูปแบบและรายละเอียดผลการประเมิน จึงจะสามารถดำเนินการวิเคราะห์จุดแข็ง/จุดอ่อน ระดับเขต ระดับสถานศึกษา และระดับผู้เรียนได้ เพื่อใช้ความรู้ความเข้าใจในการวางแผนส่งเสริมจุดแข็งและแก้ไขจุดอ่อนต่อไป

อีกส่วนที่สำคัญ คือ ทางเขตพื้นที่ต้องมีข้อมูลผู้เรียนที่ถูกสุ่มในการสอบ PISA 2025 และการจัดการเรียนรู้ต้องสอนให้ผู้เรียนรักการอ่าน จับประเด็น สามารถคิดวิเคราะห์ได้ บูรณาการความรู้และนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งตัวชี้วัดนี้ได้ถูกกำหนดไว้ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 (ปรับปรุง พ.ศ. 2560) อยู่แล้ว หากผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรฯ ก็จะส่งผลให้การประเมิน PISA อยู่ในระดับสูง

ทั้งนี้ ต้องขอชื่นชม ผอ.เขตพื้นที่มัธยมศึกษาทุกท่าน ที่นำเสนอได้อย่างน่าสนใจ และเห็นถึงแนวทางการขับเคลื่อนที่ชัดเจนเป็นรูปธรรม ขอบคุณผอ.เขตพื้นที่ และศึกษานิเทศก์ ในการร่วมสร้างพลังในการขับเคลื่อนในครั้งนี้  อีกทั้งยังเห็นถึงการนำนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของ รมว.ศธ. และนโยบายและจุดเน้นของ สพฐ. ลงสู่การปฏิบัติอย่างเห็นผลเป็นรูปธรรม” รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าว

 

สพฐ. ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม หารือแนวทางซ่อมแซมอาคารเรียน ณ โรงเรียนวัดชินวราราม (เจริญผลวิทยาเวศม์)

   วันจันทร์ที่ 20 พฤษภาคม 2567 ที่จังหวัดปทุมธานี ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้...