วันพฤหัสบดีที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2562

สพฐ. แก้จุดอ่อน พร้อมยกเครื่องปรับการวัดประเมินผล คาดช่วยครูพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนได้มาก

นายสุเทพ ชิตยวงษ์ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สพฐ. ได้ดำเนินการปรับปรุงกระบวนการวัดและประเมินผลให้สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยให้สถานศึกษามุ่งเน้นการประเมินทักษะ และสมรรถนะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 นอกจากเรื่องของความรู้ในเนื้อหาตำราเรียน ผ่านการเรียนรู้แบบการลงมือทำ ได้แก่ ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านข้อมูลสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี และทักษะด้านชีวิตและวิชาชีพ โดยกำหนดให้สถานศึกษานำทักษะทั้ง 3 ด้าน มาใช้วัดและประเมินผลในห้องเรียนตามสภาพจริงแทนการวัดและประเมินผลด้วยแบบทดสอบ คือ 1. การกำหนดโจทย์ให้ปฎิบัติหรือแก้ไขปัญหาที่อยู่ในโลกแห่งความจริงและชีวิตประจำวันของผู้เรียน 2. ใช้วิธีกระตุ้นให้ผู้เรียนปฎิบัติหรือแสดงออกเกี่ยวกับความรู้ 3. ใช้เครื่องมือวัดที่หลากหลายแต่ต้องสอดคล้องกับผลที่เกิดจากการเรียนรู้ 4. สร้างเกณฑ์สำหรับใช้วัดและประเมินผล 5. เน้นให้นักเรียนสะท้อนผลการเรียนรู้ของตนเอง และ 6. ส่งเสริมให้สถานศึกษาพัฒนาข้อสอบวัดความสามารถด้านการคิดขั้นสูงแบบคิดวิเคราะห์ เพื่อใช้ประเมินผลในชั้นเรียน

เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ที่ผ่านมาจุดอ่อนที่สำคัญของ สพฐ. คือ การกำกับ ติดตาม และประเมินผลที่ไม่ได้ทำอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีศึกษานิเทศก์ หรือสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา (สตผ.)  แต่อาจขาดระบบการติดตาม การวัดและประเมินผลที่ไม่ครอบคลุมมากในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และโรงเรียน จึงทำให้การวัดและประเมินผลออกมาได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง และไม่สอดคล้องกับปัจจุบัน
ซึ่งได้มอบหมายให้ สตผ. ดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้สถานศึกษาทุกแห่ง มีการวัดและประเมินผลในชั้นเรียนตามสภาพจริง มากกว่าการวัดและประเมินผลด้วยการทดสอบ ซึ่งผลที่ได้จากการวัดและประเมินจะเป็นข้อมูลสารสนเทศให้ครูผู้สอน สามารถตัดสินใจพัฒนากระบวนการเรียนรู้ พัฒนานักเรียนต่อไป ดังนั้น การกำกับ ติดตาม และประเมินผล จะต้องเปลี่ยนไปโดยสร้างระบบการติดตามในระดับพื้นที่ให้ชัดเจน เข้มข้น เพื่อให้เกิดการต่อยอดนวัตกรรมการศึกษา และเชื่อว่าหากมีการกำกับ ติดตาม และประเมินผลอย่างต่อเนื่อง ปัญหาต่าง ๆ เช่น ปัญหาอาหารกลางวันไม่มีคุณภาพจะลดน้อยลงด้วย

“ถือเป็นยาดำหม้อใหญ่ ในการแก้ไขจุดอ่อนของ สพฐ. ที่มีปัญหาเรื่องการติดตาม และประเมินผลมาโดยตลอด ซึ่งการปรับเปลี่ยนครั้งนี้ จะเป็นไปตามนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปี 2563 ของนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ที่อยากให้การวัด และประเมินผล เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และสามารถต่อยอดพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้นักเรียนต่อไปในอนาคตได้” นายสุเทพ กล่าว

สพฐ. จับมือ 62 ผอ.สพม. สร้างความเข้มแข็งพี่เลี้ยง ยกระดับมาตรฐานการศึกษา เตรียมพร้อมผู้เรียนสู่การประเมินนานาชาติ

                                   ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการปร...