นายอนันต์ พันนึก
ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.)
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนตัวชี้วัดผลลัพธ์การดำเนินงานตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งกลุ่มพัฒนาระบบบริหารได้จัดขึ้น
ระหว่างวันที่ 29 – 31 มีนาคม 2566
โดยมี นางสาวลิลิน ทรงผาสุก
ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบบริหาร ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ผู้แทนสำนักส่วนกลางที่รับผิดชอบตัวชี้วัด
ข้าราชการและบุคลากรที่เกี่ยวข้องในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ. ส่วนกลาง) เข้าร่วม ณ
โรงแรมทองธารา ริเวอร์วิว กรุงเทพมหานคร และผ่านช่องทางสื่อดิจิทัล (Zoom
Meeting, OBEC Channel)
.
รัฐบาลมีนโยบายปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติราชการ
เพื่อให้ส่วนราชการมีการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพการบริหารงานโดยมุ่งผลสัมฤทธิ์เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
ส่วนราชการจึงต้องมีการดำเนินงานตามแผนงานโครงการที่สอดรับกับนโยบายที่สำคัญเร่งด่วนของรัฐบาล
ยุทธศาสตร์และเป้าหมายของประเทศไปสู่การปฏิบัติ
ตลอดจนมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่รัฐบาลกำหนด
.
ทั้งนี้
ตามที่สำนักงาน ก.พ.ร.
ได้กำหนดกรอบแนวทางการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เพื่อให้ส่วนราชการได้ใช้เป็นกรอบในการพัฒนาระบบราชการให้มีความเข้มแข็ง
สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนด รวมทั้งเป็นมาตรฐาน ให้สามารถปฏิบัติงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้เป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
พ.ศ. 2546 และมติคณะรัฐมนตรี
20 กรกฎาคม 2564
เห็นชอบการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ตามที่สำนักงาน
ก.พ.ร. เสนอ โดยมีกรอบการประเมินใน 2 องค์ประกอบ
ได้แก่ การประเมินประสิทธิผลการดำเนินงาน (Performance Base) และการประเมินศักยภาพในการดำเนินงาน (Potential
Base) โดยประเมินปีละ
1 ครั้ง
.
สำหรับในปีงบประมาณ
พ.ศ. 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(สพฐ.) โดย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ
กพฐ.) ได้กำหนดการประเมินผลการปฏิบัติงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ซึ่งใช้กรอบแนวทางการประเมินระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) เป็นการประเมินหลัก และได้มีข้อสั่งการให้ทุกสำนักที่เกี่ยวข้อง
บูรณาการตัวชี้วัดในการประเมินองค์รวมร่วมกัน
เพื่อลดภาระครูและลดภาระการรายงานของผู้ปฏิบัติงานในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาให้เหลือน้อยที่สุด
.
สพฐ. โดย
กลุ่มพัฒนาระบบบริหาร จึงได้ดำเนินการวิเคราะห์ความสอดคล้องเชื่อมโยงตามนโยบายและจุดเน้นระดับ
กระทรวงศึกษาธิการ และระดับ สพฐ. แผนปฏิบัติราชการฯ ของ สพฐ.
ตลอดจนกรอบแนวทางตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารราชการ และมติคณะรัฐมนตรี
ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบราชการที่รองรับการเป็นระบบราชการ 4.0 และได้กำหนดตัวชี้วัดผลลัพธ์ตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ที่ครอบคลุมการบริหารงานด้านแผนงาน
การเงินการบัญชีการตรวจสอบภายใน และการพัฒนาองค์การ
สามารถใช้ตอบการประเมินระบบราชการ 4.0 (PMQA 4.0) หมวด 7 ผลลัพธ์การดำเนินการ
ซึ่งนับเป็นส่วนสำคัญในการประเมินผลการขับเคลื่อนนโยบายและบูรณาการการปฏิบัติงานของ
สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อรองรับต่อยุทธศาสตร์ประเทศไทย 4.0 มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล
นวัตกรรมทางการพัฒนาองค์กรเข้ามาช่วยขับเคลื่อนให้ราชการทำงานโดยยึดหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน การปรับเปลี่ยนแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่
เพื่อพลิกโฉมให้สามารถเป็นที่เชื่อถือ ไว้วางใจ
และเป็นที่พึ่งของประชาชนได้อย่างแท้จริงต่อไป